การเล่าเรื่องนั้นสามารถเปลี่ยนสิ่งที่แสนจะธรรมดาให้กลายเป็นสิ่งพิเศษได้ เป็นเหมือนกับสายน้ำเย็นสบายที่คุณแหวกว่ายอย่างสนุกสนาน ระหว่างที่คุณเพลิดเพลินอยู่นั้น มันก็ได้พาคุณไปสู่การเดินทางครั้งใหม่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งทำให้คุณประทับใจไม่รู้ลืม ในบทความนี้ คุณจะได้อ่านเกี่ยวกับศิลปะของการเล่าเรื่องสำหรับงานอีเวนต์ (Event Marketing) วิธีการเขียนเรื่องเล่าขั้นพื้นฐานที่คุณสามารถนำไปประยุกต์ในกับการเล่าเรื่องใดๆ ก็ตามได้ มาเริ่มกันเลย
การเล่าเรื่องคืออะไร
การเล่าเรื่องคือวิธีการที่คุณเล่าเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และเรื่องราวนั้นก็สร้างจินตนาการที่เชื่อมโยงผู้คนเข้าไว้ด้วยกัน จากนั้นจินตนาการก็พาพวกเขาไปสู่ประสบการณ์แปลกใหม่ โดยการเล่าเรื่องนี้ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่เพียงแค่ในนวนิยาย บทเพลง หรือภาพยนตร์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงข่าว โฆษณา คอนเทนต์ บทความ และสิ่งใดก็ตามที่มีเรื่องราวให้เล่า ซึ่งรวมถึงอีเวนต์ด้วย
ประโยชน์ของการเล่าเรื่องในการตลาดงานอีเวนต์
การเล่าเรื่องถือเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสื่อสารแบรนด์หรือสารของงานอีเวนต์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยสามารถเปลี่ยนแปลงข้อความที่น่าเบื่อให้กลายเป็นเรื่องราวที่สนุกและเข้าใจง่ายได้ ช่วยให้แบรนด์ของคุณเป็นที่จดจำและงานอีเวนต์ของคุณเป็นที่รู้จัก ทำให้ผู้คนรู้ว่างานอีเวนต์นั้นเกี่ยวกับอะไรและทำให้พวกเขามาเข้าร่วมหากสนใจ
รู้หรือไม่ การโปรโมตเรื่องราวของงานอีเวนต์ผ่านคอนเทนต์หรือการประชาสัมพันธ์จะทำให้อีเวนต์ที่จัดขึ้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
หลังจากกลุ่มเป้าหมายได้รับสารของคุณแล้ว พวกเขาก็จะมีส่วนร่วมในงานอีเวนต์ด้วยอารมณ์ที่เชื่อมโยงกันมากขึ้น เนื่องจากคุณสร้างจินตนาการให้กับพวกเขา
การเล่าเรื่องที่ดีจะทำให้ธุรกิจของคุณแตกต่างจากผู้อื่น พร้อมกับสร้างประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใครซึ่งกลุ่มเป้าหมายของคุณจะหาไม่ได้จากที่อื่น
องค์ประกอบพื้นฐานของการเล่าเรื่องสำหรับงานอีเวนต์:
ใช้แบรนด์ของคุณเป็นตัวละครผ่านการสร้างตัวตนสมมุติขึ้นมาแทนหรือการใช้มาสคอต ตัวละครนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นองค์ประกอบที่นำทางกลุ่มเป้าหมายของคุณตั้งแต่จากจุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดจบของเรื่องราว เป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ซึ่งหมายความว่าแบรนด์ของคุณจะใกล้ชิดกับพวกเขาด้วยเช่นกัน (ยิ่งไปกว่านั้น หากตัวละครได้รับการออกแบบมาอย่างดี จะทำให้แบรนด์คุณได้ทำการตลาดมาสคอต หรือ Mascot Marketing ที่มีประสิทธิภาพ สามารถดึงดูดความสนใจได้ทั้งในงานอีเวนต์และแม้กระทั่งสร้างเทรนด์ในโลกออนไลน์ได้)
ตัวละครชื่อว่าจิมเป็นบัณฑิตจบใหม่ที่ต้องการเป็นผู้จัดงานอีเวนต์มืออาชีพ มีความคิดสร้างสรรค์และมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงโลกของงานอีเวนต์
ในการกำหนดพล็อตสำหรับการเล่าเรื่องของงานอีเวนต์ ควรเริ่มจากเรื่องราวของแบรนด์ (brand story) หรือผลิตภัณฑ์ (product story) ของคุณเพื่อให้แบรนด์ ผลิตภัณฑ์ และงานอีเวนต์ที่กำลังจะจัดขึ้นสอดคล้องกัน จากนั้น หากเรื่องราวของแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ของคุณดีอยู่แล้ว คุณอาจใช้มันในรูปแบบเดิม หรือหากคุณพบว่า เรื่องราวนั้นต้องได้รับการปรับปรุง คุณอาจจะปรับเปลี่ยนเป็นเรื่องราวใหม่ โดยที่ยังคงรักษาแก่นเดิมของเรื่องเอาไว้ หรือเขียนขึ้นใหม่ทั้งหมดเลยก็ได้ อย่างไรก็ตาม พล็อตเรื่องควรมี 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงเริ่มต้น (the beginning stage) ช่วงกลาง (the middle stage) และช่วงบทสรุป (the conclusion stage) โดยแบ่งเป็นทั้งหมด 5 ส่วน
ในช่วงเริ่มต้น (the beginning stage) จะมีการเริ่มเรื่อง (exposition) เป็นการเปิดเผยข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับตัวละครและฉาก ซึ่งเป็นสถานที่ เวลา และสภาพแวดล้อมที่เรื่องจะทำเดินไป
จิมเป็นบัณฑิตใหม่ที่มีความฝันอยากเป็นผู้จัดงานอีเวนต์มืออาชีพ เขาอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งมีงานอีเวนต์มากมาย และเขารู้ว่าเส้นทางสายอาชีพนี้ของเขาไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ
ในช่วงกลางเรื่อง(the middle stage) จะมีการพัฒนาเหตุการณ์ (rising action) ภาวะวิกฤติ (Climax) และ ภาวะคลี่คลาย (Falling Action) โดยแต่ละส่วนจะแตกต่างกันออกไป การพัฒนาเหตุการณ์ (rising action) คือช่วงที่เหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้น และดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันเนื้อเรื่องไปข้างหน้า ภาวะวิกฤติ (Climax) คือจุดพลิกผันของเรื่อง ส่งผลอย่างมากต่อเรื่องทั้งเรื่อง ในช่วงนี้ตัวละครจะต้องคิดหาวิธีแก้ไขปัญหาหลักให้ได้ และ ภาวะคลี่คลาย (Falling Action) คือสภาพหลังวิกฤตต่างๆ ได้ผ่านพ้นไปแล้ว ความตึกเครียดคลายลง ปัญหาต่างๆ คลี่คลาย
จิมเริ่มพัฒนาตัวเองด้วยการเรียนรู้การทำธุรกิจ การตลาด และความรู้ต่างๆ ที่มีประโยชน์ จากนั้นเขาก็เปิดบริษัทของตัวเองโดยใช้ชื่อ “PS” น่าเศร้าที่เขาไม่มีลูกค้าเลย ดังนั้นเขาจึงไปศึกษาดูงานอีเวนต์ต่างๆ เพื่อดูวิธีการทำงานของผู้จัดงานคนอื่นๆ และมองหาเส้นสาย เรียกได้ว่าเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบากที่สุดในชีวิตของเขาเลยก็ว่าได้ เนื่องจากเงินของเขากำลังหมดลง ในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้ เขากำลังจะถอดใจและย้อมแพ้ต่อความฝัน แต่เขาบังเอิญได้พบกับนักธุรกิจคนหนึ่ง ชายผู้นั้นเชื่อใจเขาและกลายเป็นลูกค้ารายแรกของเขา
จิมทุ่มเทอย่างเต็มที่กับโครงการแรกของเขา ซึ่งนักธุรกิจก็รู้สึกพึงพอใจอย่างมากกับผลงานที่สมบูรณ์แบบของเขา
นักธุรกิจใจดีได้นำเอางานชั้นเลิศของพิกโซ่ไปบอกต่อเพื่อนๆ ของเขา ทำให้จิมมีโครงการมากมายตามมาหลังจากนั้น ทักษะและประสบการณ์ของเขาจึงเติบโตและเพิ่มพูนขึ้นอย่างรวดเร็ว
ช่วงบทสรุป (the conclusion stage) จะเป็นส่วนของการยุติของเรื่องราว (resolution) คือการสิ้นสุดของเรื่องราวทั้งหมด เป็นผลสรุปของทั้งเรื่อง
จิมกับบริษัท PS ของเขา กลายเป็นผู้จัดงานมืออาชีพที่ทุกคนต้องการร่วมงานด้วย เขาโด่งดังไปทั่วโลก
หากจิมใช้เรื่องนี้ในงานอีเวนต์ เช่น งานฉลองครบรอบของบริษัท เรื่องราวนี้สามารถเน้นย้ำความสำเร็จของบริษัท PS และพนักงานทุกคนสามารถมีความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องราวของแบรนด์ได้ ด้วยกลยุทธ์เช่นการกล่าวสุนทรพจน์ขอบคุณและการพูดคุยสร้างแรงบันดาลใจ จะทำให้บริษัท PS สามารถเพิ่มความรู้สึกแห่งความสำเร็จร่วมกันระหว่างบริษัทและพนักงานได้เช่นกัน
หรือเราสามารถปรับแต่งเรื่องราวนี้สำหรับงานจับคู่ทางธุรกิจ หรืองานแสดงสินค้าเพื่อจุดประกายแนวคิดที่ว่า “หากคุณมางานนี้ คุณจะพบโอกาสและลูกค้าของคุณเหมือนจิม”
อย่างไรก็ตาม ในการวางพล็อตขั้นสูง ขั้นตอนเหล่านี้อาจไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับและเป็นไปตามลำดับเวลาของเนื้อเรื่อง คุณอาจสร้างมิติให้กับเรื่องของคุณผ่านการนำผู้ชมของคุณท่องกลับไปมาในช่วงเวลาต่างๆ ย้อนกลับไปในอดีตหรือคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต วางกับดักเพื่อบิดพล็อตสร้างการหักมุม หรือแม้แต่มีพล็อตหลักและรอง
แต่สำหรับพล็อตเรื่องในงานอีเวนต์นั้นจะแตกต่างออกไป พล็อตที่มีความเนียบง่าย แต่สร้างสรรค์นั้น จะสร้างความแตกต่างให้แบรนด์ของคุณและทำให้ผู้คนเข้าใจเรื่องราวของคุณได้โดยตรง
รูปแบบของการเล่าเรื่องคือวิธีการเล่าเรื่อง โดยรูปแบบต้องตรงกับน้ำเสียง อารมณ์ และโทนของแบรนด์ของคุณ เพื่อรักษาแบรนด์ดิ้งที่ให้ไร้รอยต่อ
ธีมเป็นสารที่ผู้ชมได้รับจากเรื่องราวของคุณ ธีมของงานอีเวนต์นั้นสามารถเรียบง่ายและเป็นแง่บวกได้ เช่น การรักตัวเอง ความงามที่แท้จริง และอื่นๆ
จะเริ่มการเล่าเรื่องสำหรับงานอีเวนต์อย่างไร
แม้ว่าการเล่าเรื่องสามารถนำไปปรับใช้ได้หลายจุดประสงค์ และคุณสามารถเริ่มต้นได้โดยการตอบคำถามสำคัญว่า ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ และทำไม แต่สำหรับการเล่าเรื่องในงานอีเวนต์ การเข้าใจรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงจะมีประโยชน์อย่างมากต่อการเพิ่มประสิทธิภาพและผลลัพธ์ของงานให้ไปสู่จุดสูงสุด การตอบคำถามต่อไปนี้อาจช่วยในการกำหนดทิศทางและสร้างเรื่องราวที่น่าสนใจได้:
คำถามนี้จะช่วยกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายหลักของงาน การทำความเข้าใจจุดประสงค์จะช่วยในการสร้างเรื่องราวที่สอดคล้องกับเป้าหมายของงาน ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ เฉลิมฉลองเหตุการณ์สำคัญ สร้างการรับรู้ ฯลฯ
การระบุข้อความหลักจะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าการเล่าเรื่องจะมุ่งเน้นและนำเสนอเรื่องราวที่สอดคล้องและมีประสิทธิภาพต่อกลุ่มเป้าหมาย
การชี้แจงอัตลักษณ์ของแบรนด์และผลิตภัณฑ์ของคุณจะช่วยในการสร้างเรื่องราวในลักษณะที่แสดงถึงคุณค่า ภารกิจ และข้อเสนอของแบรนด์ของคุณได้อย่างถูกต้อง
การรู้จักกลุ่มเป้าหมายของคุณจะช่วยให้คุณปรับแต่งเรื่องราวให้ตรงกับความสนใจ ความชอบ และความคาดหวังของพวกเขาได้ ทำให้เรื่องราวน่าสนใจและเกี่ยวข้องกับพวกเขามากยิ่งขึ้น
ในการเล่าเรื่องสำหรับงานอีเวนต์ คำถามเหล่านี้จะช่วยให้คุณมีโครงสร้างที่ชัดเจนและช่วยให้มั่นใจว่าเรื่องราวจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ ขณะเดียวกันก็สื่อสารข้อความที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของงานอีเวนต์ โดยแนวทางนี้ได้รับการแนะนำอย่างกว้างขวางจากผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดงานอีเวนต์และผู้เชี่ยวชาญด้านการเล่าเรื่อง
กรณีศึกษาผ่านการเล่าเรื่องในงานอีเวนต์ของ K-BERRY โดยบริษัท พิกโซ่ จำกัด
ในเดือนมีนาคม 2024 ที่ผ่านมา บริษัทของเราได้จัดโครงการอีเวนต์ให้กับ K-BERRY เพื่อออกแบบ ผลิต และดำเนินการร้านป๊อปอัพที่มีชื่อว่า 'The Temptation of Strawberry, K-BERRY Pop-Up Store in Bangkok 2024' เราทราบดีว่าการเล่าเรื่องเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการทำให้ร้านมีชีวิตชีวาและดึงดูดผู้คน ดังนั้น เราจึงเริ่มต้นด้วยการตอบคำถามและวิเคราะห์คำถามเหล่านี้
จากคำตอบเหล่านี้จะเห็นได้ว่าเรื่องราวที่จะเล่านั้นจะต้องเข้าถึงได้ทุกวัย ต้องมีทัศนคติเชิงบวกเพื่อรักษาภาพลักษณ์เชิงบวกนั้นไว้ ควรเกี่ยวกับความสดใหม่และรสชาติที่ดีของสตรอเบอร์รี่ และภาพจะต้องมีคุณภาพสูงสำหรับผลิตภัณฑ์ระดับพรีเมียมและคุ้มค่าสำสินค้าในราคาระดับปานกลางถึงสูง และใช้สีแดงกับสีเขียว
จากการวิเคราะห์นี้ เราจึงแต่งเรื่องราวสำหรับร้านให้ออกมาเป็นเรื่องราวของ หนูน้อยหมวกแดง ได้ดังนี้:
[1] วันหนึ่งในฤดูร้อนที่ท้องฟ้าสดใสและอากาศอบอุ่น หนูน้อยหมวกแดงออกเดินทางจากบ้านเพื่อไปพบคุณยายผู้เป็นที่รัก [2] ระหว่างทางเธอพบกับสวนที่มีสตรอว์เบอร์รีมากมาย เธอจึงแวะพักเพื่อชิมสตรอว์เบอร์รีเหล่านั้น หมาป่าดุร้ายแอบเฝ้ามองเธออยู่ไม่ไกล เธอไม่รู้ตัวว่ามันอยู่ตรงนั้น หนูน้อยหมวกแดงตื่นตาตื่นใจกับสวนแห่งนี้ และเธอก็พบว่าสตรอว์เบอร์รีในสวนนี้สดและอร่อยมาก เธอจึงอยากแบ่งปันสวนสตรอว์เบอร์รีที่เธอรักนี้ให้คนอื่นรู้ ขณะที่กำลังเพลิดเพลินอยู่ในสวน หนูน้อยหมวกแดงก็สัมผัสได้ว่าสวนแห่งนี้มีเวทมนตร์บางอย่างซ่อนอยู่ เธอรู้สึกได้ถึงความสุขและความอิ่มเอมหัวใจที่ยากจะหาได้จากที่อื่น เธออยากให้คุณยายมีความสุขเช่นเดียวกัน เธอจึงเก็บสตรอว์เบอร์รีใส่ตะกร้าเพื่อนำไปฝากคุณยาย [3] ก่อนที่หนูน้อยหมวกแดงจะเดินออกจากสวนนั้น เธอก็ได้พบกับใครบางคนที่กำลังรอคอยเธออยู่ที่ทางออก เธอแบ่งสตรอว์เบอร์รีให้เขา [4] เขายิ้มให้เธอและอาสาจะปกป้องเธอจนกว่าจะถึงบ้านของคุณยายเป็นการตอบแทน [5] หมาป่าดุร้ายที่แอบตามเธอมาจึงไม่มีจังหวะทำร้ายเธอได้อีกต่อไป
เห็นได้ชัดว่า [1] การเริ่มเรื่อง (Exposition) [2] การพัฒนาเหตุการณ์ (Rising action) [3] ภาวะวิกฤติ (Climax) [4] ภาวะคลี่คลาย (Falling Action) และ [5] การยุติของเรื่องราว (Resolution) เรื่องสั้นเรื่องนี้มีองค์ประกอบทั้งหมดของการเขียนโครงเรื่อง ขณะเดียวกันก็เข้ากันได้ดีกับการวิเคราะห์ข้างต้น
ความสำเร็จของการเล่าเรื่องในอีเวนต์ของ K-BERRY
เราใช้การเล่าเรื่องที่เหมาะสมสำหรับ K-BERRY และนั่นเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ร้านป๊อปอัพสโตร์แห่งนี้ประสบความสำเร็จ โดยต้อนรับผู้คนไปกว่า 15,000 คน และให้ชิมสตรอเบอร์รี่เกาหลีไปแล้วมากกว่า 6,000 ลูก ผู้เข้าชมงานส่วนใหญ่มากันเป็นครอบครัว พวกเด็กๆ ก็สนใจเรื่องราวที่เราวาดไว้บนผ้าใบ รวมถึงพนักงานของเราที่แต่งตัวเป็นตัวละครด้วย นอกจากนี้ เรายังเพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้าด้วยการให้พวกเขาสวมชุดหนูน้อยหมวกแดงและหมาป่าใจร้าย กล่าวได้ว่าในงานอีเวนต์นี้ K-BERRY ไม่เพียงแต่สร้างประสบการณ์การรับประทานสตรอเบอร์รี่เกาหลีหลากหลายสายพันธุ์ที่อร่อยและไม่เหมือนใครเท่านั้น แต่ K-BERRY ยังสร้างความสุขให้เกิดขึ้นในใจของผู้คนอีกด้วย
นี่คือศิลปะแห่งการเล่าเรื่องสำหรับงานอีเวนต์
มันไม่ใช่แค่เรื่องราวที่จะเล่าเท่านั้น
แต่มันคือวิธีการที่คุณจะเล่า วิธีการที่คุณจะสร้างภาพมันออกมา
และวิธีการที่คุณจะถ่ายทอดเรื่องราวนั้น เพื่อให้เกิดการรับรู้และการมีส่วนร่วม
ในร้านค้าป๊อปอัปแห่งนี้ ผู้คนสามารถรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของตนได้ พวกเขาสามารถมองเห็นผืนผ้าใบที่มีรูปหนูน้อยหมวกแดงและในร้านยังมีสตรอว์เบอร์รีสดจำนวนมาก พวกเขาสามารถได้กลิ่นหอมของผลเบอร์รีสดฟุ้งกระจาย พวกเขาสามารถลองชิมสตรอว์เบอร์รีรสชาติดีได้ พวกเขาสามารถสัมผัสอุปกรณ์ประกอบฉากและแต่งตัวเป็นตัวละครได้ พวกเขาสามารถขอให้พนักงานทุกคนของเราเล่าเรื่องให้พวกเขาฟังได้ หรือพวกเขาสามารถดูวิดีโอที่ผู้ทรงอิทธิพล หรืออินฟลู ทั้งหลายที่ทำขึ้นมาได้
การเล่าเรื่องในงานอีเวนต์สามารถเป็นไปอย่างเรียบง่ายได้ แต่จะต้องสอดคล้องกับแบรนด์ของคุณ เล่าเรื่องราวของคุณอย่างชาญฉลาดและพยายามสร้างประสาทสัมผัสต่างๆ (การมองเห็น การได้ยิน กลิ่น รสชาติ และการสัมผัส) ให้กับกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด การเล่าเรื่องและอีเวนต์นั้นจึงจะเกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
สรุป
ศิลปะของการเล่าเรื่องในงานอีเวนต์คือการสร้างเรื่องราวที่น่าสนใจ ชวนให้มีส่วนร่วม และสร้างแรงบันดาลใจให้กับกลุ่มเป้าหมาย หากคุณเข้าใจเนื้อหาที่จะสื่อสารออกไปของคุณ รู้จักกลุ่มเป้าหมายของคุณดีพอ จนสามารถสร้างเรื่องราวที่น่าสนใจออกมาได้ คุณจะสามารถทำให้อีเวนต์ของคุณ เป็นอีเวนต์ที่เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ที่น่าจดจำได้ อย่าลืมทำให้ภาพออกมาดูดี และสร้างประสาทสัมผัสต่างๆ ให้ครบ พร้อมกับเพิ่มโอกาสให้แบรนด์ของคุณได้มีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย เช่น การจัดกิจกรรมร่วมสนุกบางอย่าง ซึ่งจะช่วยให้การเล่าเรื่องนั้นทรงพลังมากยิ่งขึ้น การเล่าเรื่องในงานอีเวนต์ ไม่เพียงแต่จะสร้างประสบการณ์อันน่าจดจำเท่านั้น แต่ยังสร้างความเชื่อมโยงที่ลึกซึ้งให้กับกลุ่มเป้าหมายได้อีกด้วย ทำให้อีเวนต์ของคุณพิเศษกว่าใคร
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมและเนื้อหาเกี่ยวกับงานอีเวนต์ งานนิทรรศการและการตกแต่งภายใน สามารถเยี่ยมชมและติดตามช่องทางของเราได้ที่ -
📌 Website: https://bit.ly/picsoweb
📌 Facebook: https://bit.ly/picsofb
📌 Instagram: https://bit.ly/picsoig
📌 TikTok: https://bit.ly/picsott
มาร่วมกันสร้างโซลูชันที่ทำให้ธุรกิจของคุณแตกต่าง ติดต่อ PICSO วันนี้และทำให้โครงการงานนิทรรศการหรือการตกแต่งภายในโครงการต่อไปของคุณโดดเด่นอย่างแท้จริง!
Tel: +66982878697
Line / Kakao: bumin123
Email: bmkim89@picsothailand.com